top of page

Block ความเสี่ยง บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างไร ในธุรกิจคลินิก

กันไว้ดีกว่าแก้ เพื่อให้คลินิก เกิดความ 'ยั่งยืนในระยะยาว' เราจะบริหาร ความเสี่ยงในธุรกิจได้อย่างไร วางแผนแบบไหนที่ตอบโจทย์ มีวิธีป้องกันยังไงได้บ้าง ? ไปชมกันเลย


1. ลิสต์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น - มีการกำหนดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในธุรกิจคลินิก หรือความเสี่ยงทางการแพทย์ เช่น การผิดพลาดในการดูแลรักษา ความเสียหายจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น



2. นำความเสี่ยงมาวิเคราะห์ - วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยการตรวจสอบกระบวนการทำงานและตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง รวมถึงประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดความเสี่ยงนั้น



3. วางแผนและการป้องกัน - อาจมีการนำมาตรการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจคลินิก เช่น การสอนและการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาด



4. ดำเนินการแก้ไขอย่างตรงจุด - การวางแผนสำหรับการดำเนินการแก้ไขกรณีเกิดความเสี่ยงหรือปัญหา เช่น การจัดทำแผนการปฏิบัติการฉุกเฉิน หรือการจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด



5. ตรวจสอบ และประเมิน - การตรวจสอบและประเมินการทำงาน หรือบริการที่มีอยู่ ดูว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ และทำการปรับปรุงตามความจำเป็น ให้เหมาะสมและตรงจุดที่สุด



6. การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย - การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และค่านิยมของคลินิก เพื่อส่งเสริมการรักษาความปลอดภัยอันเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะทั้งเรื่องของคู่ค้า หรือข้อมูลความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้


.


การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจคลินิก ด้วยวิธีการที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ระบบงานภายในคลินิกมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้คลินิกมีความน่าเชื่อถือ ลูกค้าเชื่อมั่นในบริการมากขึ้นอีกด้วย


ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

留言


bottom of page